กระแสโลกาภิวัตน์มีอิทธิพล ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง ผ่านการเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ กระทั่งทำให้โลกกลายเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” (Knowledge-based Society) ซึ่งคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูลต่างๆ ได้โดยง่าย งานวิจัยถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา จะเห็นได้ว่าปัจจุบันสถาบันต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตงานวิจัยโดยให้อาจารย์แต่ละท่านได้มีโอกาสผลิตผลงานวิจัยควบคู่ไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน งานวิจัยจึงกลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่บ่งบอกถึงคุณภาพคณาจารย์ของสถาบัน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาและการฝึกหัดครู ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการจัดการเรียนรู้ที่นำองค์ความรู้ของการวิจัยมาใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด คณะศึกษาศาสตร์ จึงมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ โดยอาศัยกระบวนการวิจัยที่ควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้มาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้ที่ผ่านมาทั้งคณาจารย์และนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ตลอดจนครูอาจารย์ และนักวิจัยภายนอกมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน สอดคล้องตามนโยบายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ซึ่งมีคุณค่าแก่การนำไปใช้เกิดมรรคผลที่ดีต่อวงการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน
ดังนั้น การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของคณะศึกษาศาสตร์ และเพื่อให้การดำเนินการตามพันธกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะจึงถือเป็นหน้าที่ ที่จะส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาสู่สาธารณชน เพื่อประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการและนำไปสู่การนำเสนอผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งเป็นการสร้างกลไกที่เอื้อให้เกิดการสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้ใช้ผลงานวิจัย ตลอดจนกระตุ้นให้มีการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยในสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เล็งเห็นว่าการประชุมวิชาการในครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการสำหรับนักวิชาการ นักวิจัย และผู้เข้าร่วมประชุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเข้มแข็งขององค์กรหรือสถาบันการศึกษานั้นได้เป็นอย่างดียิ่ง อีกทั้งได้รับการยอมรับจากสถาบันการศึกษาอื่น คณะศึกษาศาสตร์ จึงจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ National and International Conference on Education 2018 (NICE) Education, Leadership, and Innovation in Learning Society ขึ้น เพื่อช่วยให้บุคลากรและนักวิจัยได้มีโอกาสเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการวิจัยของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยและนักวิชาการอื่นๆ รวมทั้งนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ นอกจากนี้ ยังนับเป็นโอกาสที่จะเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แก่องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและและภาคธุรกิจนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างกว้างขวางซึ่งถือเป็นกลไกที่สนับสนุนให้มีการใช้องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาอย่างสูงสุดแก่ชุมชนและสังคม กอร์ปกับในในปี 2561 เป็นโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในการนี้ คณะศึกษาศาสตร์ จึงรวมมือกับ University of Missouri ประเทศสหรัฐอเมริกา และองคกรตาง ๆ ประกอบดวย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตหาดใหญ่, Dean Council of Thailand, Otago Girls’ School; New Zealand, Monash University; Australia, Nagoya City University; Japan, State University of Surabaya; Indonesia, State University of Malang, US Embassy of Thailand, Finnish Embassy of Thailand, Faculty of Education National University of Laos, สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยทักษิณ, มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช, มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี, และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติเรื่อง Education, Leadership, and Innovation in Learning Society เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยด้านการศึกษา ภาวะผู้นำทางการศึกษา และนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา การแสวงหาความร่วมมือ การประสานงาน การวางแผนจัดตั้งเครือข่ายการจัดการศึกษาในมิติที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ และหน่วยงานต่าง ๆ ระดับภูมิภาค และนานาชาติได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณและความรู้ระหว่างกัน เป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน และเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาในกลุ่มสังคม ASEAN ให้มีความเท่าเทียมนานาประเทศ
Event | Dates |
---|---|
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน | 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2561 |
ลงทะเบียนนำเสนอผลงานแบบบรรยายและโปสเตอร์พร้อมทั้งชำระค่าลงทะเบียน | 1 มกราคม – 30 เมษายน 2561 |
กำหนดส่งบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) | 1 มกราคม – 10 พฤษภาคม 2561 ![]() |
แจ้งผลการพิจารณาบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) | 31 พฤษภาคม 2561 ![]() |
กำหนดส่งบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ที่ปรับแก้แล้ว | 8 มิถุนายน 2561 ![]() |
ประกาศผลการคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ใน Proceeding | ภายใน 15 มิถุนายน 2561 ![]() |
กำหนดจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติฯ | 5-7 กรกฎาคม 2561 |
ต้องยืนประจำที่โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนดเพื่อให้คณะกรรมการและผู้เข้าร่วมงานได้ซักถามข้อสงสัยตามวัน เวลาและสถานที่ที่กำหนด โดยการเตรียมโปสเตอร์ให้ดำเนินการ ดังนี้