การเตรียมบทคัดย่อ (Abstract) และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper)
- ลงทะเบียนนำเสนอผลงานตาม link ข้างต้น
- จัดทำบทความฉบับสมบูรณ์สำหรับส่งผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
- บทคัดย่อ 2 ฉบับ คือ ฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ โดยยังไม่ต้องระบุชื่อผู้วิจัยและ/หรือคณะผู้วิจัย (หากมี) ใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK หัวข้อใช้ Font ขนาด 18 pt ส่วนอื่นใช้ Font ขนาด 16 pt กั้นหน้าซ้ายขวาข้างละ 2.5 ซม จำนวนคำไม่เกิน 250 คำ ครอบคลุมความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลการวิจัย และสรุป/ข้อเสนอแนะ คำสำคัญ (Keywords) : 3 – 5 คำ
- บทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) เป็นภาษาไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- มีความยาวไม่เกิน 15 หน้า (รวมรูปและตาราง) พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 pt ไม่เอน และไม่เว้นบรรทัด เมื่อขึ้นหัวข้อใหม่ให้เว้นบรรทัด 1 บรรทัด มีขนาดหน้าพิมพ์ A4 และระยะห่างจากขอบซ้ายและขวา 2.5 ซม. ขอบบนและล่าง 2.5 ซม. ตั้งย่อหน้าไว้ที่ 0.75 ซม.
- การลำดับหัวข้อในส่วนของเนื้อหา ให้ใช้เลขกำกับและหากมีการแบ่งหัวข้อย่อยให้ใช้เลขระบบทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย เช่น 1.1
- ส่วนการเขียนเอกสารอ้างอิงในเนื้อความให้เขียนโดยใช้ตามหลักบรรณานุกรมแบบ APA
- ตารางและรูปภาพจะต้องมีความชัดเจน ผู้เขียนจะต้องจัดตารางและรูปภาพให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสมโดยให้เห็นรายละเอียดและอ่านตัวหนังสือในภาพได้ชัดเจน (ตัวอย่างดังที่ปรากฏใน Template)
- บทความจะต้องส่งในรูปของ Microsoft Word file (*.docx)
- บทความจะต้องประกอบไปด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
- ชื่อเรื่อง
- บทนำ
- วัตถุประสงค์
- สมมติฐานของการวิจัย
- กรอบแนวคิด
- ระเบียบวิธีการวิจัย
- สรุปผลการวิจัย
- อภิปรายผลการวิจัย
- ข้อเสนอแนะ
- รายการอ้างอิง
ดาวน์โหลด Template Full Paper (ฉบับส่งผู้ทรงคุณวุฒิ)
- หลังจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาให้ข้อเสนอแนะแล้ว เจ้าของผลงานดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะ โดยส่งผลงานฉบับแก้ไขแล้ว พร้อมทั้งระบุ (ดูจาก Template Full Paper สำหรับตีพิมพ์ใน Proceedings ข้างล่างนี้)
- ชื่อผู้แต่งหลัก และชื่อคณะผู้วิจัย (ไม่มีคำนำหน้าชื่อ)
- ผู้วิจัยหลัก ใช้ “*” ท้ายชื่อ corresponding author
- คณะผู้วิจัย ตัวเลขเป็นตัวยก ท้ายชื่อผู้วิจัย
- สถานที่ทำงานและที่อยู่
- อีเมล์ผู้แต่งหลัก
ดาวน์โหลด Template Full Paper (ฉบับตีพิมพ์ใน Proceedings)