แบบประเมิน ERC 2020

สามารถสแกน QR Code เพื่อทำแบบประเมิน

หรือคลิกที่นี่

แบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ ERC 2020 (ระบบจัดการการส่งบทความ)

สามารถสแกน QR Code เพื่อทำแบบประเมิน

หรือคลิกที่นี่

แบบฟอร์มแจ้งชื่อและที่อยู่สำหรับการจัดส่งใบเสร็จ

สามารถสแกน QR Code แจ้งชื่อและที่อยู่

หรือคลิกที่นี่

กำหนดการโครงการงานประชุมวิชาการศึกษาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 7 (อัพเดท 22/06/2020)

กำหนดการนำเสนอภาคบรรยาย (อัพเดท 22/06/2020)

กำหนดการนำเสนอภาคโปสเตอร์ (อัพเดท 22/06/2020)

เกี่ยวกับโครงการ

    กระแสโลกาภิวัตน์มีอิทธิพล ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง ผ่านการเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ กระทั่งทำให้โลกกลายเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” (Knowledge-based Society) ซึ่งคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูลต่างๆ ได้โดยง่าย งานวิจัยถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และเป็นภารกิจที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา จะเห็นได้ว่าปัจจุบันสถาบันต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตงานวิจัยโดยให้อาจารย์แต่ละท่านได้มีโอกาสผลิตผลงานวิจัยควบคู่ไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน งานวิจัยจึงกลายเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่บ่งบอกถึงคุณภาพคณาจารย์ของสถาบัน

    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่ผลิตบัณฑิตทางการศึกษาและการฝึกหัดครู ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการจัดการเรียนรู้ที่นำองค์ความรู้ของการวิจัยมาใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงและส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด คณะศึกษาศาสตร์ จึงมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ โดยอาศัยกระบวนการวิจัยที่ควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์เรียนรู้มาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้ที่ผ่านมาทั้งคณาจารย์และนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ตลอดจนครูอาจารย์ และนักวิจัยภายนอกมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน สอดคล้องตามนโยบายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ซึ่งมีคุณค่าแก่การนำไปใช้เกิดมรรคผลที่ดีต่อวงการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน ดังนั้น การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สำคัญของคณะศึกษาศาสตร์ และเพื่อให้การดำเนินการตามพันธกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะจึงถือเป็นหน้าที่ ที่จะส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ตลอดจนนักศึกษาสู่สาธารณชน เพื่อประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการและนำไปสู่การนำเสนอผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งเป็นการสร้างกลไกที่เอื้อให้เกิดการสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้ใช้ผลงานวิจัย ตลอดจนกระตุ้นให้มีการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยในสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย

    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เล็งเห็นว่าการประชุมวิชาการในครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการสำหรับนักวิชาการ นักวิจัย และผู้เข้าร่วมประชุมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเข้มแข็งขององค์กรหรือสถาบันการศึกษานั้นได้เป็นอย่างดียิ่ง อีกทั้งได้รับการยอมรับจากสถาบันการศึกษาอื่น คณะศึกษาศาสตร์ จึงจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 6 ขึ้น เพื่อช่วยให้บุคลากรและนักวิจัยได้มีโอกาสเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการวิจัยของตนเอง เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยและนักวิชาการอื่นๆ รวมทั้งนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ นอกจากนี้ ยังนับเป็นโอกาสที่จะเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แก่องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและและภาคธุรกิจนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างกว้างขวางซึ่งถือเป็นกลไกที่สนับสนุนให้มีการใช้องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาอย่างสูงสุดแก่ชุมชนและสังคม และเพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยด้านการศึกษา ภาวะผู้นำทางการศึกษา และนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา การแสวงหาความร่วมมือ การประสานงาน การวางแผนจัดตั้งเครือข่ายการจัดการศึกษาในมิติที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ และหน่วยงานต่าง ๆ ระดับภูมิภาค และนานาชาติได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความรู้ระหว่างกัน เป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน และเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาในกลุ่มสังคม ASEAN ให้มีความเท่าเทียมนานาประเทศ

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ระหว่างกัน ตลอดจน การแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาการศึกษา นำไปสู่กระบวนการของการปฏิบัติ
  • เพื่อระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความตระหนักและเข้าใจร่วมกันในด้านการศึกษา ภาวะผู้นำ และนวัตกรรมในสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจและภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม
  • เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนา และการขยายเครือข่ายการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพัฒนา สร้างความมั่นคงในพื้นที่ ตลอดจนสามารถสร้างงานวิจัยและความร่วมมือในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
  • เพื่อคัดเลือกผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารศึกษาศาสตร์

หัวข้อการประชุม

  • การบริหารการศึกษา
  • การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
  • การวัด ประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
  • การวิจัยและสถิติทางการศึกษา
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
  • จิตวิทยาและการศึกษาพิเศษ
  • การศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม
  • การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • สุขศึกษา พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • การอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา
  • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • การบริการสังคมและชุมชน
  • การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  • อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กำหนดการส่งงาน

Event Dates
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน *** 16 มกราคม – 10 มิถุนายน 2563
ลงทะเบียนนำเสนอผลงานแบบบรรยายและโปสเตอร์พร้อมทั้งชำระค่าลงทะเบียน *** 16 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2563
กำหนดส่งบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper)เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา 16 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2563
แจ้งผลการพิจารณาบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ภายใน 31 พฤษภาคม 2563
กำหนดส่งบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ที่ปรับแก้แล้วและปิดการรับบทความ 7 มิถุนายน 2563
ประกาศผลการคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ใน Proceeding ภายใน 14 มิถุนายน 2563
กำหนดจัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ 2-3 กรกฎาคม 2563

การนำเสนอ

การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (Oral Presentaion)

  • ผู้นำเสนอแบบบรรยายสามารถตรวจสอบกลุ่มและลำดับการนำเสนอผลงานของตนเองได้ทางอีเมล์ซึ่งทางผู้จัดงานจะจัดส่งให้ภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2563 พร้อม ID และรหัสผ่านในการเข้าห้องนำเสนองานแบบออนไลน์
  • ก่อนถึงเวลานำเสนองานประมาณ 30 นาที ผู้ประสานงานของโครงการจะติดต่อทุกท่านเพื่อให้เข้ากลุ่มนำเสนองานออนไลน์ และเตรียมความพร้อมและชี้แจงรายละเอียดการนำเสนอ
  • เวลาการนำเสนอผลงานละ 15 นาที (นำเสนอ 10 นาที/ ซักถาม 5 นาที)
  • ขอให้ผู้นำเสนอผลงานทุกท่านได้แชร์เว็บเพจศึกษาศาสตร์วิจัย ไปยัง Facebook ของตนเองเพื่อรับชมพิธีเปิดและการบรรยายพิเศษจาก Keynote speaker ทั้ง 2 วัน โดยท่านจะได้รับเกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมงานเมื่อท่านได้แชร์การ Live สดผ่าน Facebook ของท่านเอง
  • ผู้นำเสนองานสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อดาวน์โหลดเกียรติบัตรการนำเสนอผลงานและ Proceedings ฉบับเต็มได้หลังจากนำเสนองานแล้ว
  • ตรวจสอบตารางการนำเสนอผลงานได้ที่เว็บไซต์ http://edumis.pn.psu.ac.th/erc2020
  • ท่านสามารถดาวโหลด Template Power Point ของงานเพื่อใช้ประกอบการจัดทำ Power Point ในการนำเสนอได้

Templates for Conference Presentation

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Poster Presentaion)

  • ให้ผู้นำเสนอจัดทำโปสเตอร์ในรูปแบบไฟล์รูปภาพ .JPG ขนาด 2671*3502 pixel สามารถนำเสนอด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้มีรูปถ่ายผู้นำเสนอติดที่มุมบนด้านขวาในโปสเตอร์ด้วย (ชุดสุภาพ) เนื้อหาในโปสเตอร์ประกอบด้วย บทคัดย่อ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการวิจัย ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย ข้อสรุป และเอกสารอ้างอิง
  • กำหนดให้อัพโหลดไฟล์โปสเตอร์ผ่าน Google form ในวันที่ 18-24 มิถุนายน 2563 โดยเจ้าหน้าที่จะจัดส่งลิงค์อัพโหลดไฟล์โปสเตอร์ให้ท่านผ่านทาง Email ภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2563 หรือสามารถกดลิ้งค์นี้ เพื่ออัพโหลดได้เลย https://forms.gle/CbQDZTSxghyZ2bRb8
  • ในวันที่ 25 มิถุนายน 2563 คณะผู้จัดงาน จะนำโปสเตอร์ของท่านไปอัพโหลดในเพจศึกษาศาสตร์วิจัย โดยจะแยกตามกลุ่มที่ปรากฏในกำหนดการ ขอให้ท่านได้เข้าไปตรวจสอบและนำบทคัดย่อไปโพสในคอมเมนต์ใต้รูปภาพโปสเตอร์ของตัวท่านเอง
  • ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 จะมีคณะกรรมการเข้าไปพิจารณาโปสเตอร์และตั้งข้อคำถามหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ขอให้ผู้นำเสนอได้เตรียมความพร้อมในการตอบข้อคำถามผ่านช่องทางเพจศึกษาศาสตร์วิจัย ระหว่างเวลา 13.00-16.30น.
  • ผู้นำเสนองานสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อดาวน์โหลดเกียรติบัตรการนำเสนอผลงานและ Proceedings ฉบับเต็มได้หลังจากนำเสนองานแล้ว
  • ขอให้ผู้นำเสนอผลงานทุกท่านได้แชร์เว็บเพจศึกษาศาสตร์วิจัย ไปยัง Facebook ของตนเองเพื่อรับชมพิธีเปิดและการบรรยายพิเศษจาก Keynote speaker ทั้ง 2 วัน โดยท่านจะได้รับเกียรติบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมงานเมื่อท่านได้แชร์การ Live สดผ่าน Facebook ของท่านเอง

ตัวอย่าง

รองศาสตราจารย์ ดร.เอกรินทร์ สังข์ทอง คณบดีคณะศึกษาศาสตร์

ที่ปรึกษาการจัดโครงการ

อาจารย์ ดร.วรภาคย์ ไมตรีพันธ์ รองคณบดีฝ่ายบัณฑิต นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์

ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดโครงการ

นายบูคอรีย์ แก้วกับทอง

กรรมการและเลขานุการ

Contact Info

  • คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • 181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
  • 086-4892968
  • 073-348-322
  • grad.edupsu@gmail.com
  • http://edu.psu.ac.th/erc2019